นายสุรพล บุญแปลง ปสุสัตว์อำเภอดอยหลวง ออกร่วมบริการคลินิกเกษตร สัตวแพทย์เคลื่อนที่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ปสุสัตว์ทุกอำเภอที่ หน้าที่ว่าการอำเภอเวียงชัย เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๓กำลังผ่าตัดทำหมันสุนัขเพศเมีย โดยมีนายกังวาล ถิระดำรงกุล จากอำเภอแม่สรวย เป็นผู้ช่วย
วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ตรวจสุขภาพสัตว์
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอดอยหลวง ออกบริการตรวจสุขภาพสัตว์ในพื้นที่ ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ที่บริษัท เกษตรกรรมสมบูรณ์แบบ หมู่ที่ ๔ ตำบลปงน้อย และ ไพร๊อตฟาร์ม หมู่ที่ ๗ ตำบลปงน้อย จำนวนโคเนื้อ ๕๐๐ตัว กระบือ ๒๐ ตัว โดยให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ถ่ายพยาธิ ตรวจความสมบูรณ์ระบบสืบพันธุ์ เก็บตัวอย่างเลือดตรวจห้องปฏิบัติการ โดยระดมเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและศูนย์วิจัยการผสมเทียม ต้องขอขอบคุณที่ร่วมกันดำเนินกิจกรรม
วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ร่วมประชุมสัมนาเสริมสร้างความรู้โรคไข้หวัดนกสำหรับเจ้าหน้าที่
วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ปศุสัตว์ดอยหลวงไปร่วมงานคลินิคเกษตรของจังหวัดเชียงรายที่อำเภอเทิง
วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553
ข้อฝากเตือนมาจากกรมปศุสัตว์ ถึงการเลือกซื้ออาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มเนื้อสัตว์ ช่วงหน้าร้อนนี้
โดยกรมปศุสัตว์ แจ้งมาว่า เนื่องจากขณะนี้มีสภาพภูมิอากาศร้อนอบอ้าว อาจทำให้อาหารบูด หรือเน่าเสียง่าย ทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้ กรมปศุสัตว์มีความห่วงใยในสุขภาพของประชาชน จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังในการเลือกซื้ออาหาร กรมปศุสัตว์จึงมีข้อแนะนำที่เกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ในช่วงหน้าร้อนนี้
โดย คุณปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์จึงมีข้อแนะนำการบริโภคเนื้อสัตว์ให้ปลอดภัย โดยการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่บรรจุในภาชนะที่มีสัญลักษณ์คุณภาพ "Q" หรือแผงเนื้อที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
"ซึ่งแสดงว่าเป็นเนื้อสัตว์ที่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานครบวงจร ตั้งแต่ระบบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ การขนส่ง ตลอดจนการจัดจำหน่าย ภายใต้การควบคุมคุณภาพความปลอดภัยของกรมปศุสัตว์ โดยเนื้อสัตว์ผ่านการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการว่าไม่มีเชื้อ จุลินทรีย์ สารเคมี ยาปฏิชีวนะ สิ่งปนเปื้อนใดๆ ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค รวมทั้งโรคสัตว์ที่อาจติดต่อถึงคนได้"
นอกจากนี้ ประชาชนต้องรู้จักสังเกตลักษณะภายนอกของเนื้อสัตว์ ดังนี้
เนื้อหมู ควรเลือกหมูที่มีสีชมพู มันสีขาว หนังเกลี้ยงและขาว สำหรับหมูสามชั้นควรเลือกที่มีมันบาง มีเนื้อหลายชั้น หนังบาง ไม่ควรซื้อหมูที่มีเนื้อสีแดงเกินไป เพราะอาจใส่ดินประสิว หรือสารแปลกปลอมสารพัด หรือหมูสีซีด เพราะหมายถึงหมูค้างคืน
เนื้อ วัวที่สด จะมีสีแดง สด กดแล้วไม่บุ๋ม ไม่มีน้ำเลือดไหลซึมออกมา ไม่มีสีคล้ำอมเขียว ดมดูไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า ไม่ช้ำเลือด ไม่มีเม็ดสาคูซึ่งเป็นตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด
เป็ดและไก่ ควรเลือกที่สด สะอาด เนื้อแน่น ไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียว ไม่มีกลิ่นเหม็น หรือมีสีทาตามตัว ไม่มีจ้ำเลือดหรือตุ่มหนอง
ไข่เป็ด ไข่ไก่ ควรบริโภคไข่ที่มีสภาพเปลือกไข่ดี ไม่แตก หรือบุบ ร้าว ไม่บริโภคไข่ที่หมดอายุ หากไม่แน่ใจ ให้ทดสอบโดยนำไข่ไปลอยน้ำ หากไข่จมแสดงว่าไข่ยังสดอยู่ แต่ถ้าลอยหรือมีกลิ่นแสดงว่าไข่เน่าเสียั้
อธิบดี กรมปศุสัตว์กล่าวอีกว่า แต่ก่อนที่เราจะบริโภคเนื้อสัตว์ให้อร่อย และปลอดภัยจากโรคภัยแล้ว จะต้องรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกใหม่เท่านั้น เพราะการบริโภคของที่ไม่สุก ไม่สด หรือไม่สะอาด อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสียจากอาหารเป็นพิษได้ ดังนั้น ก่อนการบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จึงควรปฏิบัติดังนี้
เช็ดหรือล้าง เนื้อสัตว์ให้สะอาดก่อนนำมาปรุงอาหารทุกครั้ง
ควรเก็บเนื้อสัตว์ไว้ ในตู้เย็น เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์
โดย คุณปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์จึงมีข้อแนะนำการบริโภคเนื้อสัตว์ให้ปลอดภัย โดยการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่บรรจุในภาชนะที่มีสัญลักษณ์คุณภาพ "Q" หรือแผงเนื้อที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
"ซึ่งแสดงว่าเป็นเนื้อสัตว์ที่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานครบวงจร ตั้งแต่ระบบฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ การขนส่ง ตลอดจนการจัดจำหน่าย ภายใต้การควบคุมคุณภาพความปลอดภัยของกรมปศุสัตว์ โดยเนื้อสัตว์ผ่านการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการว่าไม่มีเชื้อ จุลินทรีย์ สารเคมี ยาปฏิชีวนะ สิ่งปนเปื้อนใดๆ ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค รวมทั้งโรคสัตว์ที่อาจติดต่อถึงคนได้"
นอกจากนี้ ประชาชนต้องรู้จักสังเกตลักษณะภายนอกของเนื้อสัตว์ ดังนี้
เนื้อหมู ควรเลือกหมูที่มีสีชมพู มันสีขาว หนังเกลี้ยงและขาว สำหรับหมูสามชั้นควรเลือกที่มีมันบาง มีเนื้อหลายชั้น หนังบาง ไม่ควรซื้อหมูที่มีเนื้อสีแดงเกินไป เพราะอาจใส่ดินประสิว หรือสารแปลกปลอมสารพัด หรือหมูสีซีด เพราะหมายถึงหมูค้างคืน
เนื้อ วัวที่สด จะมีสีแดง สด กดแล้วไม่บุ๋ม ไม่มีน้ำเลือดไหลซึมออกมา ไม่มีสีคล้ำอมเขียว ดมดูไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า ไม่ช้ำเลือด ไม่มีเม็ดสาคูซึ่งเป็นตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด
เป็ดและไก่ ควรเลือกที่สด สะอาด เนื้อแน่น ไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียว ไม่มีกลิ่นเหม็น หรือมีสีทาตามตัว ไม่มีจ้ำเลือดหรือตุ่มหนอง
ไข่เป็ด ไข่ไก่ ควรบริโภคไข่ที่มีสภาพเปลือกไข่ดี ไม่แตก หรือบุบ ร้าว ไม่บริโภคไข่ที่หมดอายุ หากไม่แน่ใจ ให้ทดสอบโดยนำไข่ไปลอยน้ำ หากไข่จมแสดงว่าไข่ยังสดอยู่ แต่ถ้าลอยหรือมีกลิ่นแสดงว่าไข่เน่าเสียั้
อธิบดี กรมปศุสัตว์กล่าวอีกว่า แต่ก่อนที่เราจะบริโภคเนื้อสัตว์ให้อร่อย และปลอดภัยจากโรคภัยแล้ว จะต้องรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกใหม่เท่านั้น เพราะการบริโภคของที่ไม่สุก ไม่สด หรือไม่สะอาด อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสียจากอาหารเป็นพิษได้ ดังนั้น ก่อนการบริโภคผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จึงควรปฏิบัติดังนี้
เช็ดหรือล้าง เนื้อสัตว์ให้สะอาดก่อนนำมาปรุงอาหารทุกครั้ง
ควรเก็บเนื้อสัตว์ไว้ ในตู้เย็น เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)